Search

เอกซเรย์ "อาเซียน" ท่องเที่ยว "ร่วง-รอด" หลังโควิด-19 - ประชาชาติธุรกิจ

berlin-tours.blogspot.com

ภาคธุรกิจท่องเที่ยวของภูมิภาคอาเซียนนับเป็นตลาดสำคัญมากตลาดหนึ่งของไทย โดยในปี 2562 ที่ผ่านมามีจำนวนนักท่องเที่ยวรวมกันกว่า 10 ล้านคน มากเป็นอันดับ 2 รองจากตลาดจีนที่ครองแชมป์ตลาดที่ส่งออกนักท่องเที่ยวมาประเทศไทยสูงสุดเป็นอันดับ 1 ติดต่อกันตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

ไม่เพียงเท่านั้นตลาดอาเซียนยังเป็นตลาดที่มีความยืดหยุ่นและหลากหลายเป็นอย่างมาก ดังนั้น ช่วงเวลาหลังวิกฤตโควิด-19 ตลาดอาเซียนจึงเป็นความหวังของผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทย ว่าจะเป็นตลาดอันดับต้น ๆ ที่มาสนับสนุนให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยกลับมาฟื้นได้เร็วขึ้นในระยะเริ่มต้นนี้

“ประชาชาติธุรกิจ” ได้รวบรวมความเห็นการคาดการณ์ของตลาดในแต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียน จากผู้บริหารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) รวมถึงตัวแทนการท่องเที่ยวในหลาย ๆประเทศ ไว้ดังนี้

คาดตลาดมาเลย์หายไป 50%

“นงเยาว์ จิรันดร” ผู้อำนวยการสำนักงานกัวลาลัมเปอร์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่าที่ผ่านมามาเลเซียประกาศล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ถึงต้นเดือนมิถุนายนจนอัตราการติดเชื้อเริ่มนิ่ง และธุรกิจกลับมาทำงานได้อีกครั้งในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ททท.คาดว่าในปี 2563 นี้จำนวนนักท่องเที่ยวมาเลเซียที่เดินทางเข้าสู่ไทยจะลดลงจากปกติราว 50%

โดยเชื่อว่าความปกติใหม่จะเข้ามามีส่วนสำคัญกับการตัดสินใจท่องเที่ยว โดยเฉพาะในสถาการณ์ที่ไวรัสโควิดยังคงแพร่กระจายอยู่ และผู้คนต้องการเวลาสำหรับการฟื้นฟูธุรกิจ นอกจากนั้นหลายประเทศทั่วโลกยังมีมาเลเซียเป็นตลาดเป้าหมายที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยว อาทิ ไทย, เวียดนาม, อินโดนีเซีย, ไต้หวัน, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น เป็นต้น

“แม้การแข่งจะสูงแต่เรามองว่าไทยก็มีโอกาสหลายประการ ทั้งจากระยะทางและจากความเสียหายในวิกฤตโควิดที่ไม่มากนัก โดยเชื่อว่าสายการบินจะกลับมาเปิดการเดินทางอีกครั้งในเดือนมิถุนายนนี้ และการท่องเที่ยวจะกลับมาเริ่มต้นตามปกติได้ในเดือนกันยายน โดยกลุ่มที่จะเดินทางก่อนคือกลุ่มเดินทางอิสระ, นักธุรกิจ และการเดินทางผ่านชายแดนใต้ของไทยส่วนกลุ่มกรุ๊ปน่าจะเดินทางอีกครั้งในช่วงสิ้นปี”

สิงคโปร์ชี้ปีหน้าก็ยังไม่ปกติ

ด้าน “วิลเลียม โลว” ผู้จัดการตลาดสิงคโปร์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ปัจจุบันสิงคโปร์อยู่ในช่วงเวลาที่เรียกว่า เซอร์กิตเบรกเกอร์ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงล็อกดาวน์ของประเทศไทย โดยมีกำหนดจะสิ้นสุดช่วงเวลาดังกล่าวในเดือนมิถุนายน และจะค่อย ๆ ขยับเปิดสิ่งอำนวยความสะดวกห้างร้าน ขนส่งสาธารณะ และกำหนดความปกติใหม่พร้อมฟื้นฟูด้านต่าง ๆ ในระยะถัดไป โดยเชื่อว่าการท่องเที่ยวและการบินจะใช้เวลามากกว่าเซ็กเตอร์อื่น ๆ ในการฟื้นตัว เนื่องจากเป็นปัญหาที่เชื่อมโยงทั่วโลก

ทั้งนี้ เชื่อว่านักท่องเที่ยวสิงคโปร์จะพร้อมท่องเที่ยวในเดือนกรกฎาคมนี้และจะเข้าสู่ปกติในเดือนตุลาคม ซึ่ง ททท.คาดการณ์ว่าปีนี้นักท่องเที่ยวสิงคโปร์ที่เดินทางเข้าสู่ประเทศไทย น่าจะมีจำนวน 422,734 คน ลดลง 60% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนและในปี 2564 จะมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าสู่ประเทศไทยราว 920,000 คนเติบโต 117.63% จากปีนี้ แต่ลดลงจากปี 2562 ราว 30%

นอกจากนั้น ยังเชื่อว่านักท่องเที่ยวกลุ่มแรกที่เดินทางจะเป็นกลุ่มแมสและครอบครัว ซึ่งจะเดินทางภายใน 1-3 เดือนหลังการเปิดชายแดนเช่นเดียวกับกลุ่มเดินทางทันที อย่างกลุ่มคนโสด คู่รักมิลเลนเนียล นักธุรกิจที่ไม่มีผลกระทบทางเศรษฐกิจ ส่วนกลุ่มแอ็กทีฟซีเนียร์จะยังรอและดูการเดินทางก่อนโดยพิจารณาจากความคุ้มค่าในการเดินทาง อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่นักท่องเที่ยวสิงคโปร์ค้นหาเป็นอันดับต้น ๆ แม้จะลดลงบ้างเล็กน้อย จากสถานการณ์และเที่ยวบินตรงจะมีผลอย่างมากต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว

อินโดนีเซียเลี่ยงการเดินทาง

ฟาก “พอลลีน ซูฮาโน” (PaulineSuharno) เลขาธิการสมาพันธ์ผู้ประกอบการการท่องเที่ยวอินโดนีเซีย (ASITA : Association of the IndonesianTours and Travel Agencies) ให้ข้อมูลว่า จากรายการการสำรวจประชากรชาวอินโดนีเซียพบว่า มีเพียง 2% เท่านั้นที่ต้องการจะออกท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด-19 และนักท่องเที่ยวกว่า 57% เลือกเดินทางภายในประเทศก่อน

เนื่องจากความกังวลทางด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย แต่ยังมีนักท่องเที่ยวกลุ่มหนุ่มสาวที่พร้อมออกเดินทางในระยะเวลาอันใกล้และไม่กังวลด้านสุขภาพ ซึ่งน่าจะเริ่มเดินทางในเดือนกรกฎาคมนี้โดยไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวอินโดนีเซีย

“พอลลีน ซูฮาโน” บอกด้วยว่า หลังวิกฤตนักท่องเที่ยวอินโดนีเซียจะให้ความสำคัญกับความสะอาดและการเว้นระยะห่างทางสังคม นอกจากนั้นจะหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่คนหนาแน่นแออัด เลือกเดินทางไปในสถานที่ท่องเที่ยวกลางแจ้งและแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติมากขึ้น รวมถึงเลือกเดินทางแบบอิสระด้วยตนเอง และให้ความสำคัญกับงบประมาณและความคุ้มค่ามากขึ้นจากผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ได้รับ ดังนั้น ในช่วงก่อนการเดินทางจะเริ่มต้นขึ้น ผู้ประกอบการอาจจำเป็นจะต้องอาศัยเวลานี้ยกระดับมาตรฐานทางด้านความสะอาดและสุขอนามัย โดยไทยเองก็มีมาตรฐาน SHA รองรับความต้องการส่วนนี้บ้างแล้ว

เวียดนามยันไทยครองอันดับ 1

ขณะที่ “รติวัณณ บุญประคอง”ผู้อำนวยการสำนักงานโฮจิมินห์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)กล่าวว่า ปัจจุบันเวียดนามสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ดีมาก โดยไม่มีการติดเชื้อในชุมชนมาตั้งแต่ 8 พฤษภาคมที่ผ่านมาทำให้รัฐบาลเริ่มส่งเสริมการเดินทางภายในประเทศ และสั่งเปิดการเดินทางภายในประเทศได้ทั้งหมดแล้วสายการบินจึงกลับมาให้บริการเกือบครบทุกเส้นทางบิน จึงเชื่อว่าภายในไตรมาส 4 ของปีนี้นักท่องเที่ยวเวียดนามจะสามารถออกเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศรวมถึงประเทศไทยได้อีกครั้ง

โดย ททท.ได้คาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวในสถานการณ์ที่ดีที่สุดไว้ว่า ถ้าหากสถานการณ์เป็นบวกที่สุดในปี 2563 นี้ประเทศไทยจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเวียดนามที่ประมาณ 418,000 คน เติบโต 1.89% และในปี 2564 จะมีจำนวนรวมประมาณ670,080 คน หรือเติบโตจากปีนี้ประมาณ 60%

แต่หากสถานการณ์เป็นไปในทางลบที่สุด คาดว่าในปี 2563 นี้ไทยจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเวียดนามราว 314,100 คนลดลง 1.89% และในปี 2564 จะมีจำนวนราว 298,870 คน ถดถอยลงอีกประมาณ 30% จากปีนี้ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาไทยถือเป็นจุดหมายปลายทางอันดับ 1 ในใจนักท่องเที่ยวเวียดนาม มีจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2562 ถึง 1,077,000 คน เหนือกว่าไต้หวันและเกาหลีใต้

ดังนั้น หากเวียดนามสามารถจัดการกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วตามที่รัฐบาลวางไว้ว่าจะผลักดันจีดีพีให้เติบโต 5% และไทยสามารถบริหารจัดการความเชื่อมั่น รวมถึงสามารถเสนอขายสินค้าและบริการใหม่ ๆรักษาภาพแหล่งท่องเที่ยวที่คุ้มราคา นักท่องเที่ยวเวียดนามจะกลับมาอย่างแน่นอน โดยกลุ่มที่จะกลับมาก่อนคือ กลุ่มครอบครัวมิลเลนเนียล, กลุ่มลักเซอรี่ และกลุ่มกอล์ฟ

เมียนมาหวั่นโรคแต่ยังเที่ยว

ส่วน “ออง ทูรา” ตัวแทนการตลาดประจำเมียนมา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า สถานการณ์การท่องเที่ยวในเมียนมายังคงขึ้นอยู่กับมาตรการของรัฐบาลในการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งจะต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดการแพร่กระจายในกว้างขวางเพราะข้อกังวลทางเรื่องสาธารณสุข แต่เชื่อว่าเมื่อเปิดการท่องเที่ยวอีกครั้งนักท่องเที่ยวเมียนมาจะกลับมาท่องเที่ยวโดยใช้เวลาไม่นานมากนัก เพราะความกังวลว่าจะติดเชื้อจากภายนอกประเทศ

สำหรับนักท่องเที่ยวเมียนมานั้นมองว่า ไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางอันดับ 2 ที่คนเมียนมาจะเลือกออกเดินทางมาท่องเที่ยวหลังจากสถานการณ์โควิด-19 และเป็นตัวเลือกแรกหากไม่ต้องคำนึงถึงงบประมาณในการท่องเที่ยว โดยเชื่อว่าหลังจากโควิด-19คนเมียนมาจะยังมองหาการท่องเที่ยวที่คล้ายเดิมไม่ใช่การท่องเที่ยวในรูปแบบพรีเมี่ยม แต่เน้นการช็อปปิ้ง ทานอาหารถิ่น และพักผ่อนบริเวณริมชายหาดในพื้นที่กรุงเทพฯ, ภูเก็ต และพัทยา




June 19, 2020 at 01:00PM
https://ift.tt/2Bq9Zef

เอกซเรย์ "อาเซียน" ท่องเที่ยว "ร่วง-รอด" หลังโควิด-19 - ประชาชาติธุรกิจ

https://ift.tt/2VxIbuS


Bagikan Berita Ini

0 Response to "เอกซเรย์ "อาเซียน" ท่องเที่ยว "ร่วง-รอด" หลังโควิด-19 - ประชาชาติธุรกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.